วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รายงานคะแนนเก็บทั้งหมด

คะแนนเก็บทั้งหมด 1,750 คะแนน ข้าพเจ้าทำได้...........1060................คะแนน และมีจำนวนลายเซ็นต์/Stampชื่อครู........3........ครั้ง

คะแนนเก็บทั้งหมด 1,750 คะแนน ข้าพเจ้าทำได้...........1060................คะแนน และมีจำนวนลายเซ็นต์/Stampชื่อครู........3........ครั้ง

13-17ธ.ค. 2553





























ตอบ 4

อธบาย : พ่อ แม่หมู่เลือดใด จะมีลูก ที่มีเลือดหมู่ใดได้บ้าง
ให้ นึกภาพว่ายีน ของคนนั้นจะมีสองอันประกบกันเป็นคู่ อันนึงได้จากแม่ อีกอันได้จากพ่อ และจะแยกตัว ออกเป็นสองข้าง ในเซลล์สืบพันธ์ เพื่อไปจับคู่กับอีกครึ่งหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม

ลักษณะของยีน ในหมู่เลือดต่างๆ (โดยยีนนั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)
Group A = มียีน AO หรือ AA
Group B =
มียีน BO หรือ BB
Group AB =
มียีนAB
Group O =
มียีน OO

ทีนี้มาดูว่า พ่อกับแม่ แม่หมู่ใด ให้ลูก หมู่ใด ได้บ้าง
กรณีที่ 1 ทั้งสองฝ่าย group A เหมือนกัน จะเป็นได้ดังนี้
ถ้าพ่อแม่เป็น AA+ AA ลูกจะเป็น AA 100 % (Group A ทั้งหมด)
ถ้าพ่อแม่เป็น A0 +AA ลูกจะเป็น AO กับ AA อย่างละครึ่ง( แต่ก็เป็น หมู่ A ทั้งหมด)ถ้าพ่อแม่เป็น A0 + AO ลูกจะเป็น AO 50% กับ AA กับ OO อย่างละ 25% (เป็น หมู่ A 75% กับ O 25%) ในทางปฏิบัติ คนหมู่ A เราไม่ทราบหรอกครับ ว่ามันเป็น AA หรือ AO แต่จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ลูกก็จะมีโอกาสเป็นได้แค่ หมู่ A หรือ O เท่านั้น
\
กรณีที่ 2 ทั้งสองฝ่ายหมู่ B เหมือนกัน
ก็ จะเหมือนกับ กรณีของ A ข้างบน แต่เปลี่ยนเป็น จาก A เป็น B เท่านั้น
กรณีนี้ จะได้ลูกแค่ หมู่ B และ O เท่านั้น

กรณีที่ 3 ทั้งสองฝ่ายเป็น AB เหมือนกัน จะเป็นดังนี้
AB+AB
จะได้ ลูก AB 50% กับ AA และ BB อย่างละ 25%
กรณีนี้จะได้ลูก หมู่ AB 50% และ A กับ B อย่างละ 25% ไม่มีหมู่ O เลย

กรณีที่ 4 ทั้งสองฝ่ายหมู่ O เหมือนกัน จะได้ ดังนี้
OO+OO
จะได้ลูก เป็น OO 100% กรณีนี้จะได้แต่ลูกหมู่ O เท่านั้น ไม่มีหมู่อื่นปน

กรณีที่ 5 ฝ่ายหนึ่ง Group A อีกฝ่ายหมู่ B จะเป็นได้ดังนี้
AA + BB =
ลูกได้ AB 100 %(หมู่ AB ทั้งหมด)
AO + BB =
ลูกได้ AB ครึ่งนึง กับ BO ครึ่งหนึ่ง (หมู่ AB กับ หมู่ B อย่างละครึ่ง)
AA + BO =
ลูกได้ AB กับ AO อย่างละครึ่ง (หมู่ AB กับ หมู่ A อย่างละครึ่ง)
AO+BO =
ลูกได้ AB ,AO, BO, OO อย่างละ 25% ( มีได้ทุกหมู่ อย่างละ 25% )
กรณีนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้าพ่อแม่ คนนึง หมู่ A อีกคน B จะมีลูกได้ ทุกหมู่เลย

กรณี 6 ฝ่ายหนึ่งหมุ่ A อีกฝ่าย AB จะเป็นได้ดังนี้
AA + AB
จะได้ลูก AA และ AB อย่างละครึ่ง(ได้ลูกหมู่A และ AB อย่างละครึ่ง)
AO +AB
จะได้ลูก AA ,AO, AB, BO อย่างละ 25% (ได้ลูกหมู่ A 50% และ หมู่AB กับ หมู่ B อย่างละ 25%) กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น A อีกฝ่ายเป็น AB จะได้ลูก หมู่ A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น หมู่ O

กรณีที่ 7 ฝ่ายหนึ่ง AB อีกฝ่าย B จะเป็นได้ดังนี้
AB + BB
จะได้ลูก BB และ AB อย่างละครึ่ง(ได้ลูกหมู่ A และ AB อย่างละครึ่ง)
AB +BO
จะได้ลูก BB ,BO, AB, AO อย่างละ 25% (ได้ลูกหมู่ B 50% และ หมู่AB กับ หมู่ A อย่างละ 25%) กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น AB อีกฝ่าย เป็น B จะได้ลูก หมู่ A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น หมู่ O เหมือนกัน กับกรณีที่4

กรณีที่ 8 ฝ่ายหนึ่ง หมู่ AB อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
AB + OO
จะได้ AO กับ BO กรณีนี้จะได้ลูก หมู่ A กับ B ไม่มี AB และ O

กรณีที่ 9 ฝ่ายหนึ่ง หมู่ A อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
AA + OO
ได้ AO ทั้งหมด (หมู่ A ทุกคน)
AO + OO
ได้ AO กับ OO อย่างละ50% กรณีนี้จะได้ลูก หมู่ A กับ O อย่างละครึ่ง ไม่มี หมู่ B กับ AB

กรณีที่ 10 ฝ่ายหนึ่ง หมู่ B อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
BB + OO
ได้ BO ทั้งหมด (หมู่ B ทุกคน)
BO + OO
ได้ BO กับ OO อย่างละ50% กรณีนี้จะได้ลูก หมู่ B กับ O อย่างละครึ่ง ไม่มี หมู่ A กับ AB

สรุปจากทั้งสิบกรณี ข้างบนมาให้ดูง่ายๆคือ
คนหมู่เลือด A +A = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกหมู่ ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกหมู่
คนหมู่เลือด A+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกหมู่ ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด B+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกหมู่ ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด AB+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B
คนหมู่เลือด A+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
คนหมู่เลือด B+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O
แต่ถ้าเราสามารถระบุไปถึง ระดับยีนได้ ว่าเป็นตัวไหน ก็พยากรณ์ได้แคบลงตามตัวอย่างข้างบน (อาจจะดูได้โดยดูจากประวัติครอบครัว เช่น คนที่ หมู่ A หรือ หมู่ B ที่มาจาก พ่อแม่ ที่เป็น AB +AB ย่อมเป็น หมู่A ที่มี ยีน AA หรือ หมู่ B ที่มียีน BB เป็นต้น

ิที่มา : http://pirun.ku.ac.th/~b5141038/Section%201.htm



ตอบ 2

อะิบาย พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเพิ่มขึ้นของสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจี เอ็ม โอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง

พืชดัดแปลงพันธุกรรมกับความปลอดภัย

การ พิจารณาว่าจี เอ็ม โอ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ/หรือ สิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องผ่านการทดลองหลายด้านเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางวิทยา ศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและมีบทบาท ในสิ่งแวดล้อมต่างๆกันไป และก่อนที่ผู้ผลิตรายใดจะนำเอาจี เอ็ม โอ หรือผลผลิตจากจี เอ็ม โอแต่ละชนิดออกสู่ผู้บริโภคนั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ นั้นๆมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธร รรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตพันฑ์จี เอ็ม โอ ทุกชนิด ทั้งที่นำมาเป็นอาหาร หรือที่นำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในทางพาณิชย์มีความปลอดภัยแล้ว บางคนคิดว่าจีเอ็มโอคือสารปนเปื้อนที่มีอันตราย ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะจี เอ็ม โอ ไม่ใช่สารปนเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จี เอ็ม โอนั้นคือ “สิ่งไม่มีชีวิต” ที่เป็นผลพวงจากการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัย ใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติ ตามอย่างที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น การดัดแปรพันธุกรรมของมะเขือเทศให้มีลักษณะการสุกงอมที่ช้าลงกว่าปรกติ การดัดแปลงพันธุกรรมของถั่วเหลืองให้มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงซึ่งให้ประโยชน์ต่อมนุษย์สูง เป็นต้น ดังนั้นการใช้คำว่า “ปนเปื้อน” ในกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง เพราะ ”ปนเปื้อน” มีความหมายในลักษณะที่ไม่ต้องการให้มี เช่นไม่ต้องการให้อาหารมีการปนเปิ้อนของสารปรอทหรือสารหนูปนเปื้อนในอาหารเป็นต้น ดังนั้น จีเอ็มโอไม่ใช่สารปนเปื้อนแน่นอน

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1


ตอบ 2

อธิบาย : เพดดิกรีแสดงลักษณะตาบอดสี
 ลูกสาวของชายหญิงคู่นี้เป็นพาหะของลักษณะตาบอดสีหรือไม่
 ในกรณีใดบ้าง ที่ครอบครัวจะมีลูกสาวตาบอดสีได้
 เพราะเหตุใดลักษณะตาบอดสีส่วนใหญ่จะปรากฏในเพศชาย
 นักเรียนคิดว่าจำเป็นต้องทดสอบภาวะตาบอดสีประกอบการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในบาง
อาชีพหรือไม่

ลักษณะตาบอดสี เป็นลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนด้อย กำหนดให้ c แทนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะตาบอดสี และ C แทนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะตาปกติยีนคู่นี้อยู่บนโครโมโซม X ดังนั้นสัญลักษณ์แทนยีนจึงเขียนเป็น Xc และ XC สำหรับจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของลักษณะตาบอดสี แสดงได้ดังตาราง 4.2

ตาราง4.2 แสดงจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของลักษณะตาบอดสี
ภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟต ดีไฮดรจีเนส ควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X เช่นเดียวกับภาวะตาบอดสี ผู้ที่ขาดเอนไซม์ดังกล่าวนี้จะมีอาการแพ้ยาและอาหารบางชนิดอย่างรุนแรง เช่น แพ้ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมาลาเรีย และยาแก้ปวดลดไข้บางชนิด ในประเทศไทยมีผู้ขาดเอนไซม์ชนิดนี้ถึง 12% ของประชากรเพศชาย

ลักษณะด้อยที่ควบคุมยีนที่อยู่บนโครโมโซม X จะพบในเพศชายได้บ่อยกว่าลักษณะด้อยที่ควบคุมด้วยยีนที่อยู่บนออโตโซม ทั้งนี้เนื่องจากเพศชายมีโครโมโซม X เพียง 1 โครโมโซมซึ่งรับมาจากแม่ ลักษณะด้อยที่ถ่ายทอดมาจากแม่จึงปรากฏได้ในลูกชาย แม้ว่าแม่จะไม่แสดงลักษณะนั้นๆก็ตาม ส่วนลักษณะด้อย ที่ควบคุมด้วยยีนบนออโตโซมนั้น จะปรากฏก็ต่อเมื่อลูกได้รับยีนด้อยที่ตำแหน่งดังกล่าวทั้งจากพ่อและแม่

 ให้นักเรียนอธิบายการถ่ายทอดลักษณะด้อยที่ควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม X ในเพศหญิง

หมู่เลือด

ที่ผ่านมานักเรียนได้ศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมซึ่งควบคุมด้วยยีน 1 คู่ ที่มี 2 แอลลีล คือแอลลีลเด่นและแอลลีลด้อย ส่งผลให้มีฟีโนไทป์เพียง 2 แบบ ยังมีลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะที่ควบคุมด้วยที่มีมากกว่า 2 แอลลีล ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาต่อไป

ยีนที่กำหนดลักษณะหมู่เลือด ABO ของคนมี 3 แอลลีล คือ IA,IB และ I ทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์แอนติเจนบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยแอลลีลเด่นคือ IAและ IB ทำ ให้เซลล์สังเคราะห์แอนติเจนชนิด A และชนิด B ตามลำดับ ส่วนแอลลีลด้อยคือ I เป็นแอลลีลที่ไม่สามารถสังเคราะห์แอนติเจน A หรือ B จึงไม่ปรากฏแอนติเจนทั้งสองบนผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดงดังนั้นหมู่เลือด ABO มีจีโนไทป์

ที่มา : http://km.vcharkarn.com/other/mo6/56-2010-07-14-09-20-24


ตอบ 1

อธิบาย : ไบรโอไฟต์ มักขึ้นในที่ร่มและชุ่มชื้น เช่น ก้อนหิน เปลือกไม้ พื้นดิน เป็นต้น แต่บางครั้งเราอาจพบไบรโอไฟต์ขึ้นอยู่บนวัตถุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ท่อน้ำพีวีซี พื้นซีเมนต์ ตุ๊กตาดินเผา เป็นต้น ไบรโอไฟต์เป็นพืชบกสีเขียวที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง ไม่มีดอก และไม่มีรากที่แท้จริง มีไรซอยด์ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการยึดเกาะ การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุสามารถเข้าสู่ภายในของต้นโดยผ่านเซลล์ได้ทุกเซลล์ ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ จึงได้นิยมนำไบรโอไฟต์มาใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (bioindicator) โดยเฉพาะเพื่อใช้ในการศึกษาผลกระทบทางด้านมลพิษในอากาศ เพราะไบรโอไฟต์สามารถดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง
ไบรโอไฟต์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ มอสส์ ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต ไบรโอไฟต์ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของป่าในด้านต่างๆ เช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นพืชบุกเบิกในธรรมชาติ ซึ่งช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าที่รกร้างและแห้งแล้ง ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ที่สำคัญเซลล์ของไบรโอไฟต์ มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับน้ำได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว สามารถดูดซับได้ถึง 200-500% ของน้ำหนักแห้ง พืชกลุ่มนี้จึงเปรียบเหมือนฟองน้ำของป่าที่ช่วยดูดซับน้ำให้กับผืนป่า ไบรโอไฟต์จึงนับว่าเป็นพืชตัวน้อยที่นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศป่าเป็นอย่างมากกลุ่มหนึ่ง
ปัจจุบันมีการนำไบรโอไฟต์มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เช่น นำมาจัดตู้ปลา จัดสวน หรือแม้แต่นำมาเป็นวัสดุช่วยปลูกกล้วยไม้ นอกจากนี้ยังมีการค้นคว้าวิจัยในการสกัดสารเคมีจากไบรโอไฟต์บางชนิด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น มอสส์สกุลข้าวตอกฤาษี (Sphagnum) สามารถรักษาอาการตกเลือดอย่างเฉียบพลัน และโรคที่เกี่ยวกับตา (Pant, 1998) สำหรับประเทศไทยการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศที่มีการปลูกไบรโอไฟต์เป็นสินค้าส่งออกสามารถสร้างรายได้เข้า ประเทศอย่างมากมาย อย่างไรก็ตามเราทุกคนควรมีจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อย่างรู้คุณค่า เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างดีตลอดไปด้วย

ที่ มา : http://www.biotec.or.th/brt/index.php?option=com_content&view=article&id=132:bryophyte-suntree&catid=58:plant&Itemid=52




ตอบ 1

อธิบาย :
ไข้หวัดนก (อังกฤษ: Avian influenza หรือชื่อสามัญ bird flu) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก ค้นพบครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี เรียกกันว่าไข้หวัดสเปน โรคนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก
การระบาดของไข้หวัดนก สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก โดยเฉพาะในประเทศไทยและเวียดนาม มีการฆ่าสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่ในฟาร์มไปหลายล้านตัว เพื่อระงับการแพร่กระจายของโรค

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%81

กิจกรรมที่ 22-26 พฤศจิกาย 2553


ตอบ 3.

อธิบาย : มิวเทชันหรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้ แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1.มิวเท ชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม
2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ

การเกิดมิวเทชัน

การเกิดการมิวเทชันแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ

1. มิวเทชันที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ (spontaneous mutstion)อาจเกิดขึ้นเนื่องจากรังสี สารเคมี อุณหภูมิในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของ เบส(tautomeric shift)หรือการสูญเสียไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของเบส(ionization)ทำให้การจับ คู่ของเบสผิดไปจากเดิมมีผลทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสแบบแทรนซิชันหรือทรา สเวอร์ชัน ทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไป แต่อัตราการเกิดมิวเทชันชนิดนี้จะต่ำมากเช่น เกิดในอัตรา 10-6 หรือ10-5
2.การมิวเทชันที่เกิดจากการชักนำ(induced mutation)เป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดจากมนุษย์ใช้สิ่งก่อกลายพันธุ์(mutagen) ชักนำให้เกิดขึ้นซึ่งสิ่งก่อกลายพันธุ์มีดังนี้
2.1. สิ่งก่อกลายพันธุ์ทางกายภาพ(physical mutagen)ได้แก่ อุณหภูมิ รังสีต่างๆ รังสีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
ก.รังสีที่ก่อให้เกิดไอออน(ionizing radiation) รังสีประเภทนี้มีอำนาจในการทะลุทะลวงผ่านเนื้อเยื่อได้สูง ซึ่งมักจะทำให้เกิดการแตกหักของโครโมโซม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมรังสีเหล่านี้ได้แก่ รังสีแอลฟา เบตา แกมมา นิวตรอนซ์ หรือรังสีเอ็กซ์


ข.รังสีที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน(non ionizing radiation)รังสีประเภทนี้มีอำนาจในการทะลุทะลวงผ่านเนื้อเยื่อได้ต่ำมักจะทำ ให้เกิดไทมีนไดเมอร์ (thymine dimer) หรือไซโทซีนไดเมอร์(cytosine dymer) รังสีประเภทนี้ได้แก่รังสีอัลตราไวโอเลต(UV)

2.2 สิ่งก่อกลายพันธุ์ทางเคมี(chemical mutagen) ได้แก่สารเคมีต่างๆซึ่งมีหลายชนิดเช่น

ก. สารเคมีที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับเบสชนิดต่างๆของดีเอ็นเอ (base analogues) ซึ่งสามารถเข้าแทนที่เบสเหล่านั้นได้ระหว่างที่เกิดการจำลองโมเลกุลของดี เอ็นเอ ทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสและรหัสพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปสารเคมีเหล่านี้ ได้แก่5-โบรโมยูราซิล 2-อะมิโนพิวรีน5-โบรโมยูราซิล มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับไทมีน เมื่อเกิดการจำลองโมเลกุลของดีเอ็นเอจะสามารถเข้าไปแทนที่ไทมีนได้ และสามารถเกิดtautomericหรือionizationได้ซึ่งเมื่อเกิดแล้วแทนที่จะจับคู่ กับอะดินีน จะไปจับคู่กับกัวนีน เมื่อมีการจำลองโมเลกุลต่อไปอีกจะทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสขึ้นได้
ข. สารเคมีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสูตรโครงสร้างของเบสซึ่งมีผลทำให้เกิด การแทนที่คู่เบสเช่นเดียวกัน ทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไปสารเคมีเหล่านี้ได้แก่
กรดไนตรัส ไฮดรอกซิลลามีน ไนโตรเจนมัสตาด เอธิลมีเทนซัลโฟเนต กรดไนตรัส จะทำหน้าที่ดึงหมู่อะมิโนออกจากโมเลกุลของเบสอะดินีน ไซโทซีน และกัวนีนทำให้เบสอะดีนีนเปลี่ยนเป็นไฮโปแซนทีน ซึ่งสามารถจับคู่กับเบสไซโทซีนได้ เบสไซโทซีนเปลี่ยนเป็นยูราซิลซึ่งสามารถจับคู่กับเบสอะดีนีนได้และเบสกัวนีน เปลี่ยนเป็นแซนทีน ซึ่งสามารถจับคู่กับเบสไซโทซีนได้ดังนั้นเมื่อเกิดการจำลองโมเลกุลของดีเอ็น เอจะทำให้เกิดการแทนที่คู่เบส
ค. สารเคมีที่ทำให้เกิดการเพิ่มและการขาดของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของ ดีเอ็นเอซึ่งมีผลทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไป สารเคมีเหล่านี้ได้แก่ สีย้อมเช่น อะคริดีน ออเรนจ์,โพรฟลาวีน โมเลกุลของอะคริดีน ออเรนจ์ หรือโพรฟาวีนสามารถเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ หรือทำให้โมเลกุลของนิวคลีโอไทด์ที่ถูกแทรกโดย
อะคริดีน ออเรนจ์ หรือโพรฟาวีนหลุดออกมา เมื่อมีการจำลองโมเลกุลของดีเอ็นเอ จะได้โมเลกุลของดีเอ็นเอที่มีการเพิ่มของนิวคลีโอไทด์และการขาดหายไปของนิ วคลีโอไทด์ ยีนที่เปลี่ยนแปลงไปนี้อาจจะกลายเป็นยีนเด่นหรือยีนด้อยก็ได้ หรืออาจทำให้เกิดการตายขึ้นได้

ที่มา : http://learners.in.th/blog/aefreedom/419345






ตอบ : 1

อธิบาย : GMO นั้นมีความหลากหลายอย่างมาก ซึ่งรวมไปถึงสัตว์ทีได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมโดยวิธีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอเช่น หนู, ปลา พืชตัดแต่งพันธุกรรม หรือจุลินทรีย์หลายชนิดเช่นแบคทีเรีย และเชื้อรา สาเหตุของการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ GMO นั้นมีหลายประการด้วยกัน โดยมีประการสำคัญคือการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในการวิจัยเพื่อตอบคำถามเชิง พิ้นฐานหรือเชิงประยุกต์ของชีววิทยาและวิชาแพทยศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การผลิตเอนไซม์ทางเภสัชกรรมและอุตสาหกรรม และการนำไปใช้โดยตรง (ซึ่งมักตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์) เพื่อการพัฒนาสุขภาพของมนุษย์ (เช่น การบำบัดยีน) หรือผลผลิตทางเกษตรกรรม (เช่น ข้าวสีทอง) นิยามของคำว่า "สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม" ไม่จำเป็นที่จะต้องรวมไปถึงการบรรจุยีนเป้าหมายจากสายพันธุ์หนึ่งไปยังอีก สายพันธุ์หนึ่งเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ยีนจากแมงกะพรุน ประกอบไปด้วยโปรตีนเรืองแสงเรียกว่า GFP (Green Fluorescent Protein) ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมต่อกับยีนอื่นโดยตรงได้และทำให้ยีนนี้สามารถแสดงลักษณะ ร่วมกันกับยีนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อ ระบุถึงตำแหน่งของโปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นโดยยีนที่มี GFP เชื่อมอยู่ในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วิธีการเหล่านี้รวมถึงวิธ๊การอื่นๆ ล้วนเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักชีววิทยาในหลายๆ สาขาการวิจัย รวมไปถึงผู้ที่ศึกษากลไกของมนุษย์และโรคอื่นๆ หรือกระบวนการพื้นฐานเชิงชีววิทยาในเซลล์ยูคาริโอตและโพรคาริโอต








ตอบ 2

อธิบาย : การโคลน หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้อาศัยการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ คือสเปิร์ม กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย คือไข่ ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์ตามปกติ แต่ใช้เซลล์ร่างกาย (Somatic cell) ในการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่
อันที่จริงเทคโนโลยีการโคลน เป็นเทคโนโลยีที่พบเห็นในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายมาหลายสิบปีมาแล้ว โดยเฉพาะกับพืช เช่น การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ซึ่งเป็นการาขยายพันธุ์ที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูง การโคลนพืช จะใช้เซลล์อวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือแม้แต่โพรโตพลาสต์ของพืช มาเลี้ยงในสารอาหาร และในสภาวะที่เหมาะสม ส่วนต่าง ๆ ของพืชดังกล่าวสามารถจะเจริญเป็นพืชต้นใหม่ ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ การตัดกิ่ง ใบ ราก ไปปักชำก็ จัดว่าเป็นโคลนในพืชที่เรียกว่า การเลี้ยงเนื้อเยื่อ ก็มีการศึกษาการโคลนในสัตว์บ้างเหมือนกัน เช่น J.B Gurdon จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ ได้ทำการโคลนกบ ซึ่งนับว่าเป็นการโคลนสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นครั้งแรก J.B Gurdon ได้นำนิวเคลียสของเซลล์ ที่ได้จากลำไส้เล็กของลูกอ๊อดกบ (เป็น Somatic cell) มีโครโมโซม 2 n ไปใส่ในเซลล์ไข่ของกบอีกตัวหนึ่งที่ทำลายนิวเคลียสแล้ว พบว่าไข่กบนี้ สามารถเจริญเติบโตเป็นกบตัวใหม่ ที่มีลักษณะเหมือนกบ ที่เป็นเจ้าของนิวเคลียสที่นำมาใช้

ที่มา : http://www.school.net.th/library/snet4/cloning/index.htm


ตอบ : 4

อธิบาย : สารพันธุกรรม (Genetic Material)สารพันธุกรรมแตกต่างกันสองชนิดคือ :

ดีเอ็นเอ (deoxyribonucleic acid-DNA)
อาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid-RNA)
รหัสพันธุกรรม (Genetic code) ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมของเซลล์ซึ่งเก็บอยู่ในรูปดี เอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ใช้ดีเอ็นเอสำหรับเก็บข้อมูลทางพันธุกรรม แต่ไวรัสบางชนิด เช่น รีโทรไวรัส (retrovirus) มีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม อาร์เอ็นเอนอกจากจะเป็นสารพันธุกรรมแล้วยังทำหน้าที่เป็นสารที่ขนถ่ายข้อมูล ด้วย ได้แก่ เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ หรือ (mRNA) และอาจทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ได้โดยเฉพาะในเซลล์ที่มีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุ กรรม ได้แก่ ไรโบโซมัล อาร์เอ็นเอ หรือ (rRNA)

สารพันธุกรรมของพวกโปรคาริโอต จะถูกจัดอยู่ในโมเลกุลของดีเอ็นเอรูปวงกลมง่ายๆ เช่น ดีเอ็นเอของแบคทีเรียซึ่งอยู่ในบริเวณนิวคลอยด์ (nucleoid region) ของไซโตพลาสซึม ส่วนสารพันธุกรรมของพวกยูคาริโอต จะถูกจัดแบ่งให้อยู่ในโมเลกุลที่เป็นเส้นตรงที่เรียกว่า โครโมโซม (chromosome) ภายในนิวเคลียส และยังพบว่ามีสารพันธุกรรมอื่นๆ นอกจากในโครโมโซมในออร์แกเนลล์บางชนิด เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ (ดูเพิ่มเติมที่ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติก (endosymbiotic theory)) เช่น ในเซลล์มนุษย์จะมีสารพันธุกรรมในบริเวณดังนี้

ในนิวเคลียส เรียกว่า นิวเคลียร์ จีโนม (nuclear genome) แบ่งเป็นโมเลกุลเส้นตรง ดีเอ็นเอ 46 เส้น หรือ 23 คู่ เรียกว่า โครโมโซม
ในไมโทคอนเดรีย เรียกว่า ไมโทคอนเดรียล จีโนม (mitochondrial genome) เป็นโมเลกุลดีเอ็นเอรูปวงกลมที่แยกจากดีเอ็นเอในนิวเคลียส ถึงแม้ไมโทคอนเดรียล จีโนมจะเล็กมากแต่ก็มีรหัสสำหรับการสร้างโปรตีนที่สำคัญ
สารพันธุกรรมจากภายนอกที่สังเคราะห์ขึ้นได้เองสามารถนำไปใส่ในเซลล์ได้เราเรียกกระบวนการนี้ว่า ทรานสเฟกชัน (transfection)

ที่มา ; http://www.neutron.rmutphysics.com/biology/board/index.php?topic=148.0



ตอบ : 4

อธิบาย :
ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (อังกฤษ: Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้ กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน
กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบ พันธุ์สูงสุด[1][2] เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม[3]
กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล้กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่[4] แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย[1]
เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา[5][6] อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ[7] หลังการตีพิมพ์หนังสือไม่นาน ทฤษฎีของดาร์วินก็เป็นที่ยิมรับต่อสมาคมวิทยาศาสตร์ [8][9][10][11] ในคริสต์ทศวรรษที่ 1930 การคดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วินเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากที่เกรเกอร์ เมนเดล ได้ค้นพบการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ก่อให้เกิดทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่[12] โดยเมนเดลได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของ ยูนิต (ซึ่งภายหลังเรียกว่า ยีน) และ กระบวนการ ของการวิวัฒนาการ (การคัดเลือกโดยธรรมชาติ) การศึกษาของเมนเดลทำให้สามารถไขข้อข้องใจถึงวิธีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ กรรมจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วินได้อย่างดี และเป็นหลักการสำคัญของชีววิทยาสมัยใหม่ ซึ่งเป็นการอธิบายกระบวนการดังกล่าวร่วมกับความหลากหลายทางพันธุกรรมบนโลก

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3





ตอบ 4

อธิบาย : ผู้บริโภค หมายถึง บุคคล หรือใครก็ตามที่กิน หรือใช้สินค้า บริการต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการ ของตนเองทั้งทางด้านร่างกาย และทางด้านจิตใจ
ผู้บริโภค (consumer) คือ สิ่งมีชีวิตที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นๆเป็นอาหาร แบ่งได้เป็น
- สิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร (herbivore) เช่น วัว ควาย กระต่าย และปลาที่กินพืชเล็กๆ ฯลฯ
- สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร (carnivore) เช่น เสือ สุนัข กบ สุนัขจิ้งจอก ฯลฯ
- สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืช และสัตว์ ซึ่งเป็นลำดับการกินสูงสุด (omnivore) เช่น มนุษย์
ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84




ตอบ 2

อธิบาย : แก๊สเรือนกระจก (Greenhouse gases) คือแก๊สที่มีอยู่ในบรรยากาศที่ทำให้การสูญเสียความร้อนสู่ห้วงอวกาศลดลง จึงมีผลต่ออุณหภูมิในบรรยากาศผ่าน ปรากฏการณ์เรือนกระจก แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้[1][2] แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%81




ตอบ 4

อธิบาย : ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา
- เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)
- ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม

สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ
กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียน สารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมาก ขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ
1. ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)
2. ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)


ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)
สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้ ได้แก่ แบคทีเรีย

ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมซิโซไฟดา คือ
1. มีเซลล์ขนาดเล็ก
2. ลักษณะรูปร่าง มี 3 ลักษณะคือ
2.1 รูปร่างกลม เรียกว่า coccus (coccus = เอกพจน์ cocci = พหูพจน์)
2.2 รูปร่างแบบแท่งยาว เรียกว่า bacillus (bacillus = เอกพจน์ bacilli = พหูพจน์)
2.3 รูปร่าง เกลียว เรียกว่า spirillum (spirillum = เอกพจน์ spirillum = พหูพจน์)



3. เซลล์รูปร่างต่าง ๆ มีการเรียงตัวทำให้เกิดลักษณะเฉพาะ เช่น
แบคทีเรียที่มีรูปร่างทรงกลม มีการเรียงตัวหลายแบบ
- เซลล์ทรงกลม 2 เซลล์เรียงต่อกันเรียก diplococci
- เซลล์หลายเซลล์เรียงต่อกันเป็นลูกโซ่เรียก streptococci
- เซลล์หลายเซลล์เรียงกันเป็นกลุ่มก้อนคล้ายพวงองุ่น เรียก staphylococci
- เซลล์ 8 เซลล์ เรียงเป็นลูกบาศก์เรียก sarcina
แบคทีเรียที่มีรูปร่างทรงกระบอก ไม่ค่อยมีแบบแผนการเรียงตัวที่เด่นชัดเท่าทรงกลม แต่อาจมีการเรียงตัวของเซลล์เนื่องมาจากระยะการเจริญเติบโตหรือขึ้นกับสภาพ ของการเพาะเลี้ยงในอาหาร
แบคทีเรียที่มีรูปร่างแบบเกลียว มักอยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านความยาว จำนวนเกลียว ความโค้ง
4. แหล่งที่พบแทบทุกแห่งในดินในน้ำ ในอากาศ แหล่งที่เป็นน้ำพุร้อน เขตหิมะ ทะเลลึก
5. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการสารอาหาร
5.1 Photoautotroph
5.2 Photoheterotroph
5.3 Chemoautotroph
5.4 Chemoheterotroph
6. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการอากาศ
6.1 Aerobic bacteria
6.2 Facultative bacteria
6.3 microaerophilic bacteria
6.4 Anaerobic bacteria
7. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการอุณหภูมิ
7.1 Psychrophile
7.2 Mesophile
7.3 Thermophile

โครงสร้างของแบคทีเรียที่แตกต่างจากเซลล์อื่น ๆ
1. แบคทีเรียมี ribosome ชนิด 70 s และสารพันธุกรรมเป็น DNA โดย (single circular DNA)
2. ผนังเซลล์ (cell wall) ทำหน้าที่คงรูปร่างของเซลล์ ป้องกันเซลล์แตกประกอบด้วย peptidoglycan ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาล 2 ชนิด คือ N-actyl glucosamine (NAG) และN-acytyl muramic acid (NAM) และ มี amino acid หลายชนิด และ lipoprotein lipopolysac teichoic acid
3. Capsule เป็นส่วนที่อยู่นอกผนังเซลล์ สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และทนต่อการทำลายของเม็ดเลือดขาว พบแคปซูลในแบคทีเรียบางชนิดเท่านั้น แบคทีเรียที่มีแคปซูลมักก่อโรครุนแรง
4. pilil มีลักษณะเป็นขนคล้ายแฟลกเจลลา แต่มีขนาดเล็ก มีลักษณเป็นท่อกลวง ไม่มีหน้าที่ในการเคลื่อนที่แต่ช่วยให้เกาะยึดติดกับผิววัสดุ และ Sex pilli ช่วยในการถ่ายทอด DNA ใน Conjugation
5. mesosome เป็นส่วนที่เยื่อหุ้มเซลล์บางส่วนยื่นเว้าเข้าไปในcytoplasm จะพบบริเวณ ที่จะมี การแบ่งเซลล์
6. Flagella เป็นโครงสร้างใช้ในการเคลื่อนที่ แบคทีเรียส่วนใหญ่เป็นพวกที่เคลื่อนที่ได้ แฟลกเจลลาประกอบด้วยเส้นใยเส้นเดี่ยว ๆ ซึ่งต่างจากแฟลกเจลลาของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แบคทีเรียอาจมีแฟลกเจลลา 1 เส้นจนถึงหลายร้อยเส้น และอยู่ได้หลายตำแหน่ง ส่วนของแฟลกเจลลา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ basal body , hook และ filament
7. Plasmid เป็น DNA ที่อยู่นอกโครโมโซมของแบคทีเรีย ลักษณะของพลาสมิดเป็น DNA วงแหวน และเป็นเกลียวคู่ สามารถจำลองตัวเองได้และสามารถถ่ายทอดไปยังแบคทีเรียอื่น ๆ ได้ พลาสมิดมีหลายชนิด บางชนิดควบคุมการสืบพันธุ์แบบมีเพศของเซลล์ บางชนิดควบคุมการดื้อต่อยาปฏิชีวนะต่าง ๆ
8. endospore เป็นโครงสร้างที่พบในแบคทีเรียบางชนิด เป็นโครงสร้างที่ทำให้แบคทีเรียมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ เอนโดสปอร์เกิดขึ้นภายในเซลล์และสร้างได้ 1 สปอร์ต่อ 1 เซลล์จะไม่ถือว่าเป็นการสืบพันธุ์ แต่ถือว่าเป็นการดำรงชีพ

การสืบพันธุ์ของแบคทีเรีย ส่วนใหญ่แบคทีเรียสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เรียกว่า Transverse Binary Fission
บางชนิดมีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมได้ 3 รูปแบบคือ
1. Conjugation คือ การถ่ายทอดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งด้วยการจับคู่สัมผัสกันโดยตรง
2. Transformation คือ การถ่ายทอด DNA ตัวเปล่า (naked DNA) หรือ DNA อิสระจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง
3. Transduction คือ การถ่ายทอดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งโดยอาศัยไวรัสหรือ Bacteriophage

การจำแนก Bacteria อาศัยลักษณะดังนี้
1. ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ได้แก่ รูปร่าง
2. ตามอาหารที่ได้รับ แบ่งเป็น
2.1 พวก Autotroph เป็นพวกที่สามารถสร้างอาหารเองได้
2.2 พวก Heterotroph เป็นพวกที่สามารถสร้างอาหารเองไม่ได้
3. การติดสีของผนังเซลล์ [ Gram stain ] แบ่งเป็น
3.1 Gram positive เป็นพวกที่ติดสีย้อมคริสตัลไวโอเลต
3.2 Gram negative เป็นพวกที่ติดสีย้อมซาฟานิน
4. การหายใจ ความต้องการใช้อากาศหรือ O2
5. ลักษณะการเลี้ยงเชื้อ : อาหาร สภาพแวดล้อม
6. ลักษณะทางแอนติเจน

ประโยชน์ของแบคทีเรีย 1. ด้านอุตสาหกรรม เช่นการผลิตอาหารหมัก ใช้ฟอกหนัง
2. ด้านการเกษตร เช่นใช้เป็นปุ๋ย
3. การทดสอบคุณภาพน้ำ
4. ทางด้านการแพทย์ เช่นการผลิตยาปฏิชีวนะ
5. ใช้ในเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมสร้างแบคทีเรียที่มีลักษณะต่าง ๆ
6. ช่วยย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นอาหารของพืช

โทษของแบคทีเรีย 1. ผลิตสารพิษที่เป็นอันตราย
2. ทำให้เกิดโรคต่างๆ ใน คน เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ปอดบวม วัณโรค คอตีบ สัตว์ เช่น แอนแทรกซ์ บาดทะยัก และพืช เช่น โรครากเน่า โรคใบไม้ของสาลี่


ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta) ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า Cyanobacteria

ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมไซยาโนไฟตา คือ
1. ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เป็นเซลล์พวกโปรคารีโอต ไม่มี flagella
2. มี chlorophyll phycocyanin phycorythin กระจายในเซลล์ แต่ไม่ได้รวมเป็น chloroplast
3. ผนังเซลล์เป็น cellulose และ pectin
4. มีขนาดเล็ก อาจอยู่ในลักษณะ
4.1 เซลล์เดี่ยว หรือเซลล์กลุ่ม เช่น



4.2 เซลล์ที่จัดเรียงเป็นสาย



การสืบพันธุ์ของ Cyanocacteria 1. การแบ่งตัว Binary fission.
2. การหักเป็นท่อน (fragmentation) พบในพวกที่เป็นสาย
3. สร้างสปอร์หรือสร้างเซลล์พิเศษ เช่น akinete

ประโยชน์ - เป็นผู้ผลิตอาหาร และ O2
- Spirulina หรือเกลียวทอง มี protein สูง ใช้ทำอาหารเสริมคนและสัตว์
- Nostoc Anabaena Oscillatori สามารถเพิ่มความตรึง N ทำเป็นปุ๋ยในดิน เช่น แหนแดง (Azolla) ซึ่ง Anabaena อยู่ช่องว่างกลางใบ

ที่มา ; http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=568



ตอบ 4

อธิบาย :
การคายน้ำของพืช
พืชสูญเสียน้ำไปโดยการคายน้ำ(transpiration) สู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่ และทางผิวใบเพียงเล็กน้อยเพราะมีสารคิวทินเคลือบอยู่เป็นการป้องกันการสูญเสียน้ำ
ปากใบและการคายน้ำของพืช


ใน บางครั้งที่อากาศมีความชื้นสัมพันธ์สูง น้ำจะระเหยเป็นไอสู่บรรยากาศได้น้อยลง ทำให้การคายน้ำลดลง แต่แรงดันน้ำในต้นพืชยังสูงอยู่ จึงสามารถพบหยดน้ำที่บริเวณกลุ่มรูเปิดที่ผิวใบซึ่งเรียกว่า ไฮดาโทด (hydathode) มักพบอยู่ใกล้ปลายใบหรือขอบใบตรงตำแหน่งของปลายท่อลำเลียง การคายน้ำในลักษณะนี้เรียกว่า กัตเตชัน (guttation) ทำให้พืชสามารถดูดน้ำทางรากเข้าไปใช้ได้ พบทั้งในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่


พืชนอกจากจะสูญเสียน้ำโดยการระเหยเป็นไอออกมาทางปากใบแล้วพืชยังสามารถสูญเสียน้ำเป็นไอน้ำออกมาทางเลนทิเซล (lenticle) ซึ่งเป็นรอยแตกที่ผิวของลำต้นได้อีกด้วย


ปาก ใบเปิดเมื่อเซลล์คุมเต่งและปิดเมื่อเซลล์คุมสูญเสียความเต่ง เซลล์คุมเต่งจะสูญเสียความเต่งได้โดยที่ ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์กำหนดความเต่งของเซลล์คุม เมื่อมีแสงปริมาณโพแทสเซียมไอออนในเซลล์คุมเพิ่มขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายเพิ่มขึ้น น้ำจากเซลล์ข้างเคียงจึงแพร่เข้าสู่เซลล์คุม ทำให้เซลล์เต่งมากขึ้นและเปลี่ยนรูปไปทำให้ปากใบเปิด ในทางตรงกันข้ามการลดปริมาณโพแทสเซียมไอออนในเซลล์คุม ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์คุมลดลง น้ำจะแพร่ออกจากเซลล์คุมทำให้เซลล์คุมเปลี่ยนรูปไปเป็นผลให้ปากใบปิด
ปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำ
อุณหภูมิ ขณะที่ปากใบเปิดถ้าอุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น อากาศจะแห้ง น้ำจะแพร่ออกจากปากใบมากขึ้น ทำให้พืชขาดน้ำมากขึ้น
ความชื้น ถ้าความชื้นในอากาศลดลงปริมาณน้ำในใบและในอากาศแตกต่างกันมากขึ้น จึงทำให้ไอน้ำแพร่ออกจากปากใบมากขึ้น เกิดการคายน้ำเพิ่มมากขึ้น
ลม ลมที่พัดผ่านใบไม้จะทำให้ความกดอากาศที่บริเวณผิวใบลดลง ไอน้ำบริเวณปากใบจะแพร่ออกสู่อากาศได้มากขึ้น และขณะที่ลมเคลื่อนผ่านผิวใบจะนำความชื้นไปกับอากาศด้วย ไอน้ำจากปากใบก็จะแพร่ได้มากขึ้นเช่นกัน แต่ถ้าลมพัดแรงเกินไปปากใบก็จะปิด
สภาพน้ำในดิน การเปิดปิดของปากใบมีความสัมพันธ์กับสภาพของน้ำในดินมากกว่าสภาพของน้ำในใบ พืช เมื่อดินมีน้ำน้อยลงและพืชเริ่มขาดแคลนน้ำ พืชจะสังเคราะห์กรดแอบไซซิก (abscisic acid) หรือ ABA มีผลทำให้ปากใบปิดการคายน้ำจึงลดลง
ความเข้มของแสง ขณะที่พืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ปากใบจะเปิดมากเมื่อความเข้มแสงสูงขึ้น และปากใบจะเปิดน้อยลงเมื่อความเข้มของแสงลดลง เนื่องจากความเข้มของแสงเกี่ยวข้องกับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งมีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำตาล ไอออน และสารอินทรีย์บางชนิดที่อยู่ในเซลล์คุม ดังนั้นเมื่อความเข้มข้นของแสงมากขึ้น จะเป็นผลให้การคายน้ำในใบมาก แต่ในบางกรณีถึงแม้ความเข้มของแสงมากแต่น้ำในดินน้อย พืชเริ่มขาดน้ำปากใบจะปิด
โดยทั่วไปปากใบพืชจะเปิดในเวลากลางวันเพื่อนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในการ สังเคราะห์ด้วยแสงและปิดในเวลากลางคืน แต่พืชอวบน้ำ เช่น กระบองเพชรที่เจริญในที่แห้งแล้ง ปากใบจะเปิดในเวลากลางคืน และปิดในเวลากลางวันเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ในเวลากลางคืนพืชตระกูลนี้จะตรึงคาร์บอนไดออกไซด์แล้วเปลี่ยนเป็นกรด อินทรีย์เก็บสะสมไว้ในแวคิลโอล ในเวลากลางวันพืชจะนำคาร์บอนไดออกไซด์จากกรดอินทรีย์มาใช้ในการสังเคราะห์ ด้วยแสง
พืชบางชนิดยังมีการปรับโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพในการดูดน้ำ โดยมีรากแผ่ขยายเป็นบริเวณกว้างหรือมีรากหยั่งลึกลงไปในดิน เช่น หญ้าแฝก พืชบางชนิดลำต้นและใบอวบน้ำเพื่อสะสมน้ำ มีขนปกคลุมปากใบจำนวนมาก มีคิวทินหนาที่ผิวใบ รูปร่างของใบมีขนาดเล็กลงหรือเปลี่ยนไปเป็นหนาม บางชนิดมีโครงสร้างที่ช่วยลดการคายน้ำ เช่น ปากใบอยู่ต่ำกว่าระดับผิวใบ เช่น ปากใบของต้นยี่โถ

ที่มา : http://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_07.html



ตอบ 2

อธิบาย :
1. สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution)

หมายถึง ความเข้มข้นของสารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่ากับความเข้มข้น
ของสารละลายภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้การออสโมซิสของโมเลกุลของนํ้าเข้าสู่
เซลล์เม็ดเลือดแดง และออกจากเซลล์เม็ดเลือดมีค่าเท่ากัน ทำให้ขนาดของเซลล์ไม่เปลี่ยนแปลง
สารละลายที่เป็นไอโซทอนิกกับเซลล์เม็ดเลือดแดงคือ น้ำเกลือ 0.85 %
2. สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic solution)

หมายถึง สารละลายภายนอก เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้นํ้าภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
เป็นผลทำให้ซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งขึ้น ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนที่ออกจากเซลล์เหมือนกันแต่
น้อยกว่าเคลื่อนที่เข้าเซลล์ ผลจากการที่น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์แล้วทำให้เซลล์เต่ง
เรียกว่า plasmoptysis
ในเซลล์พืชจะมีผนังเซลล์ที่หนา แข็งแรง ถึงเกิดแรงดันเต่งมาก ๆ ผนังเซลล์ก็ยังต้านทานได้
เรียว่า wall pressure แรงดันเต่งช่วยให้เซลล์พืชรักษารูปร่างได้ดี เช่น ใบกางได้เต็มที่ ยอดตั้งตรง
ในเซลล์สัตว์์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้า้ำน้ำออสโมซิสเข้าไปมากอาจทำให้เซลล์แตกได้ เช่น
เซลล์เม็ดเลือดแดง เรียกปรากฏการณ์ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกว่า haemolysis
3. สารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic solution)

หมายถึง สารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลทำให้น้ำภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสออกนอกเซลล์ เป็นผล
ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลง ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนเข้าเซลล์เหมือนกันแต่น้อยกว่าออก
ผลจากการที่เซลล์ลดขนาด เหี่ยวลงเนื่องจากเสียน้ำ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า plasmolysis

ในเซลล์พืชจะทำให้โพรโทพลาซึมหดตัวจึงดึงให้เยื่อหุ้มเซลล์ที่แนบชิดกับผนังเซลล์
แยกออกจากผนังเซลล์ มองเห็นเป็นก้อนกลมอยู่กลางเซลล์

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/45/2/cell/content/osmosis2.html