วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรม 8 พฤศจิกายน 2553

อธิบายข้อสอบ ข้อ3
เซลล์สัตว์จะประกอบไปด้วย
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C_%28%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%29

อธิบายข้อสอบ ข้อ4
การลำเลียงแบบใช้พลังงาน อาศัยโปรตีนที่แทรกอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวลำเลียงเช่นเดียวกับการแพร่แบบฟาซิลิเทต แต่แตกต่างกันตรงที่เซลล์ต้องใช้พลังงานเป็นตัวพา เรียกว่า ATP เพื่อเป็นแรงผลักในการลำเลียง ซึ่งทิศทางตรงข้ามกับการแพร่

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/25/2/miracle_cell/cp07_transport.html
อธิบายข้อสอบ ข้อ2
วาโซเพรสซิน (vasopressin) หรือ แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เส้นเลือดหดรัดตัว และลดการหลั่งปัสสาวะเรียกชื่อย่อว่า ADH

ร้อยละ 70 ของสารในร่างกายคือน้ำ แม้ว่าเราจะดื่มน้ำวันละมากๆ หรือเสียเหงื่อในวันที่มีอากาศร้อนมากๆ แต่ความเข้มข้นของสารน้ำในร่างกายยังปกติ นอกจากการทำงานของไตแล้ว ฮอร์โมนที่สำคัญที่ควบคุมให้ร่างกายมีสารน้ำปกติคือ แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone)

วาโซเพรสซิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 9 หน่วย คล้ายกับฮอร์โมนออกซิโทซิน แต่ต่างกันอยู่เล็กน้อย ทำให้การทำงานแตกต่างกันไป ตำแหน่งที่ 8 ของวาโซเพรสซินคือกรดอะมิโนอาร์จินีน (arginine) บางครั้งจึงเรียกว่าอาร์จินีนวาโซเพรสซิน มีสูตรโครงสร้างดังนี้

ถ้าเราดื่มน้ำมากเกินไปซึ่งได้ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้สารเหลวในร่างกายจะเจือจางลง ฮอร์โมน ADH จะถูกหลั่งออกมาน้อยลง ไตจะขับปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ความเข้มข้นปกติ การดื่มแอลกอฮอล์จะร่วมยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน ADHอีกด้วย ทำให้ปัสสาวะบ่อยมีผลให้สารน้ำในร่างกายต่ำ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกมึนงง ปวดศีรษะ และกระหายน้ำได

ที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter2/vasopressine.htm

อธิบายข้อสอบ ข้อ3
กรดน้ำส้ม หรือ กรดแอซีติก (อังกฤษ: acetic acid) เป็นสารประกอบเคมีอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในน้ำส้มสายชู (มิใช่พืชตระกูลส้มซึ่งให้กรดซิตริก) คือให้รสเปรี้ยวและกลิ่นฉุน กรดแอซีติกแข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 16.7 °C มีลักษณะเป็นผลึกใส กรดชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ไอของกรดสามารถทำให้ตาและจมูกระคายเคือง แต่ก็ยังมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนหากละลายน้ำ ซึ่งมีประโยชน์มากในการขจัดตะกรันในท่อน้ำ ในด้านอุตสาหกรรมอาหาร กรดแอซีติกใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อควบคุมความเป็นกรดภายใต้รหัส E260

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1


อธิบายข้อสอบ ข้อ1
เพราะจะเป็นวิธีเดียวที่ทำให้ไม่เกิดไวรัสขึ้นอีก

ที่มา http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2404





อธิบายข้อสอบ ข้อ4

แอนติบอดี (อังกฤษ: antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (อังกฤษ: immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen)

การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเปปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้และตำแหน่งบนแอนติเจน ที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีด เข้าไป

โครงสร้างโมเลกุลของแอนติบอดีอยู่ในรูปตัววาย (Y shape) ประกอบด้วยสายพอลีเปปไทด์ 4 เส้น คือ เส้นหนัก (heavy chain) 2 เส้น และเส้นเบา (light chain) 2 เส้น โดยเปรียบเทียบจากขนาดน้ำหนักโมเลกุลส่วน ที่โคนของตัววายของโมเลกุลแอนติบอดี เรียกว่า constant region จ ะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็นคลาสไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เป็นต้น โดยที่ส่วนปลายของตัววายซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกับแอนติเจนจะมีความหลาก หลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ซึ่งเรียกว่า variable region

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5

อธิบายข้อสอบ ข้อ2
น้ำเชื่อมมีกลูโคสอยู่ซึ่งมีค่าเป็นกลางมากที่สุดในจำนวนตัวเลือกนี้
อธิบายข้อสอบ ข้อ4
กรดไรโบนิวคลีอิก หรืออาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid ; RNA)
อาร์เอ็นเอมีลักษณะเป็นกรดนิวคลีอิกกขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นสายพอลินิ วคลีโอไทด์สายเดียวโดยในโมเลกุลของนิวคลีโอไทด์จะประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ไนโตรเจนเบส น้ำตาลเพนโทส และหมู่ฟอสเฟต เหมือนกับดีเอ็นเอ แต่จะมีลักษณะที่แตกต่าจากดีเอ็นเอ คือ
1. น้ำตาลเพนโทสในอาร์เอ็นเอจะเป็นน้ำตาลไรโบสในขณะที่ดีเอ็นเอจะเป็นน้ำตาลดีออกซีไรโบส
2. ในอาร์เอ็นเอจะมีไนโตรเจนเบสเป็น ยูราซิล (U) แทนไนโตรเจนเบส ไทมีน (T) ในดีเอ็นเอ
อาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมที่สามารถพบได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตโดยอาจจะพบได้ในไซโทพลาซึมนิวเคลียสและในไมโทคอนเดรีย

ที่มา http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2931
อธิบายข้อสอบ ข้อ3

อธิบายข้อสอบ ข้อ4
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (อังกฤษ: thalassaemia) เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมี อายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่าๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 และพบผู้ที่มีพาหะนำโรคถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจางโดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งมีสีแดงและนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2


อธิบายข้อสอบ ข้อ2
มิวเทชันหรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้ แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1.มิวเท ชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม
2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ

ที่มา http://www.kik5.com/index.php?option=com_content&view=article&id=81:2009-03-19-06-30-35&catid=40:-7-&Itemid=61

อธิบายข้อสอบ ข้อ2
โคลนนิ่ง (cloning)ภาษาอังกฤษเขียนว่า cloning หมายถึง การผลิตพืชหรือสัตว์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ให้มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ เป็น กระบวนการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัย เพศชนิดหนึ่ง มนุษย์รู้จักโคลนนิ่งมาแต่สมัยโบราณแล้ว แต่เป็นการ รู้จักโคลนนิ่งที่เกิดกับพืช นั่นคือ การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัย กระบวนการที่เกี่ยวกับเพศของพืชเลย โคลนนิ่งที่เป็นการขยาย พันธุ์พืชหรือสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศที่เป็นที่รู้จักและเรียกกัน ในภาษาไทยของเราว่า การเพาะชำพืชสำหรับเรื่องการโคลนนิ่ง ของสัตว์และมนุษย์ก็เป็นกระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่นกัน คำว่าโคลน (clone) มาจากคำภาษากรีกว่า “Klone” แปลว่า แขนง กิ่ง ก้าน ซึ่งใช้อธิบายการแบ่งตัวแบบไม่มีเพศ (asexual) ในพืชและสัตว์ การโคลนนิ่ง คือการผลิตสัตว์ให้มีลักษณะทาง กายภาพ (phenotype) และทางพันธุกรรม (genotype) เหมือนกัน (identical twin) โดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียมาผสม กัน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “genetic duplication” ดัง นั้น การโคลนนิ่งจึงเป็นการทำสิ่งมีชีวิตให้เป็นแฝดเหมือนกัน คือ มีเพศเหมือนกัน สีผิวเหมือนกัน หมู่เลือดเหมือนกัน ตำหนิเหมือนกัน เป็นต้น ซึ่งในทางธรรมชาติ โดยเฉพาะในสัตว์เกิดปรากฏการณ์การเกิดแฝด ขึ้นได้น้อยมาก บางรายงานกล่าวว่าแฝด คู่สอง (twin) มีโอกาสเกิดน้อยกว่า ร้อยละ 1-5 และแฝดคู่สาม คู่สี่ หรือมากกว่า มีรายงานน้อยมาก

ที่มา http://www.dld.go.th/region2/webboard/data/0006.html

อธิบายข้อสอบ ข้อ3

การผลิตฮอร์โมนอินซูลินโดยใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม
มีขั้นตอนโดยสรุป ดังนี้
1. การตัดชิ้นส่วน
DNA ของคนที่มียีนควบคุมการสังเคราะห์
ฮอร์โมนอินซูลิน ต่อเข้ากับ
DNA ของแบคทีเรีย จะได้ DNA
โมเลกุลใหม่ เรียกว่า
DNA สายผสม

2. นำ DNA สายผสมใส่เข้าไปในเซลล์ของแบคทีเรีย

ที่ไม่สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมนอินซูลิน ให้กลายเป็นแบคทีเรีย
ชนิดใหม่ที่สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมนอินซูลินได้
3. คัดเลือกแบคทีเรียชนิดใหม่ที่สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมน
อินซูลินได้
และนำไปเพาะเลี้ยงให้มีเซลล์จำนวนมากเพียงพอแล้ว
จึงสกัดฮอร์โมนอินซูลินไปใช้ประโยชน์ต่อไป


ที่มา http://warunee.chs.ac.th/unit_631.htm

อธิบายข้อสอบ ข้อ2

DNA (รหัสประจำตัวสิ่งมีชีวิต)

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หน่วยงานต่างๆมักจะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคล (เพราะว่าลายนิ้วมือเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน ไม่มีใครลายนิ้วมือเหมือนกัน) เนื่องจากคนในอดีตส่วนใหญ่เขียนหนังสือไม่ได้ แต่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เขียนหนังสือได้แล้ว บางหน่วยงานหรือบางเรื่องจึงมีการใช้ลายมือชื่อหรือลายเซ็นเป็นสัญลักษณ์ของบุคคล แทนการใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ แต่การใช้ลายเซ็นเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคล มีปัญหาค่อนข้างมาก เพราะว่ามีหลายคนสามารถปลอมลายเซ็นได้เหมือนมาก จึงมีปัญหาเกิดขึ้นกับธนาคารหลายแห่ง เพราะว่ามีคนปลอมลายเซ็นแล้วสามารถเบิกเงินออกไปได้ ท่านผู้อ่านก็ทราบว่าในปัจจุบันมีบางหน่วยงานที่ยังคงใช้ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคลอยู่ เช่น โรงรับจำนำทุกแห่ง สถานีตำรวจ ศาล เรือนจำ และ สถานธนานุบาล ฯลฯ

ที่มา http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/5/DNA/index.htm

อธิบายข้อสอบ ข้อ2

เพราะว่า เหยี่ยวมีความเป็นผู้ล่ามากกว่าผู้ถูกล่า

อธิบายข้อสอบ ข้อ1

เพราะว่า เมื่อเกิดการระเบิดก็จะเกิดการเสียหายหนักมากจนไปสู่การเริ่มต้นใหม่

อธิบายข้อสอบ ข้อ4

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีความสำคัญต่อระบบนิเวศเนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีความ สัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน ถ้าสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งสูญพันธุ์ไป ก็จะกระทบกระเทือนต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ในระบบนิเวศด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศหนึ่ง ยังอาจมีผลเกื้อกูลต่อระบบนิเวศอื่นๆ เช่น ป่าไม้เป็นแหล่งต้นน้ำที่มีผลต่อระนิเวศในลำธาร ป่าชายเลนและแนวปะรังเป็นแหล่งอภิบาลตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตในทะเลหากมีการ ทำลายป่าต้นน้ำ ป่าชายเลนหรือแนวปะการังย่อยจะมีผลกระทบต่อความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใน ระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกัน

ความหลากหลายทางชีวภาพนอกจาก จะมีความสำคัญต่อโลกของสิ่งมีชีวิตโดยรวมแล้ว ยังมีความสำคัญเฉพาะต่อคนในหลายแง่มุม คนนำสัตว์และพืชในธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์ในเชิงเกษตรกรรมอย่างต่อเนื่องตัวอย่างเช่น การค้นพบว่าข้าวพันธุ์พื้นบ้านไทยมียีนที่ช่วยให้ช้าวสามารถต่อด้านเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาล จึงนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวจนได้สายพันธุ์ข้าวที่ด้านทานแมลงศัตรู ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย

เรายังใช้ วัตถุดิบจากสิ่งมีชีวิตมาทำประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมอย่างขวาง เช่น เส้นใยและยางล้วนแต่เป็นผลผลิตจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติพิเศษสารเคมีจากพืช และสัตว์หลายชนิดนำมาทำเครื่องสำอางและยารักษาโรคมากมายเป็นสารที่สกัดได้ จากสิ่งมีชีวิตเช่น สารปลาโนทอด (Planonotol) จากต้นเปล้าน้อยซึ่งมีฤทธิ์รักษาโรคกระเพาะและลำไล้ หากความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตลดลงเรื่อยๆ ดังเช่นในปัจจุบัน มนุษย์ก็จะสูญเสียประโยชน์จากการนำสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายและวัตถุดิบทาง ชีวภาพมาพัฒนาเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา http://km.vcharkarn.com/other/mo6/63-2010-07-15-09-47-07

อธิบายข้อสอบ 1

พลังงานน้ำ เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัยพลังงานของน้ำที่เคลื่อนที่ ปัจจุบันนี้พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ในการชลประทาน การสี การทอผ้า และใช้ในโรงเลื่อย พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ ในอินเดีย และชาวโรมันก็ได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อใช้ในการโม่แป้งจากเมล็ดพืชต่างๆ ส่วนผู้คนในจีนและตะวันออกไกลก็ได้มีการใช้พลังงานน้ำเพื่อสร้าง Pot Wheel เพื่อใช้ในวิดน้ำเพื่อการชลประทาน โดยในช่วงทศวรรษ 1830 ซึ่งเป็นยุคที่การสร้างคลองเฟื่องฟูถึงขีดสุด ก็ได้มีการประยุกต์เอาพลังงานน้ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเรือขึ้นและลงจากเขา โดยอาศัยรางรถไฟที่ลาดเอียง (Inclined Plane Railroad : Funicular)โดยตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แบบนี้ อยู่ที่คลอง Tyrone ในไอร์แลนด์เหนือ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำในยุคแรกนั้นเป็นการส่งต่อ พลังงานโดยตรง (Direct Mechanical Power Transmission) ทำให้การใช้พลังงานน้ำในยุคนั้นต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงาน เช่น น้ำตก เป็นต้น ปัจจุบันนี้ พลังงานน้ำได้ถูกใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งต่อพลังงานไปใช้ในที่ที่ห่างจากแหล่งน้ำได้

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3

อธิบายข้อสอบ ข้อ2

เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับ แพลงตอนพืช สาหร่ายและพืชน้ำ

อธิบายข้อสอบ ข้อ1และข้อ2

ข้อ1เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์บก
ข้อ2 เป็นสัตว์ ประเภทเดียวกันแต่คนละสายพันธุ์

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สาระ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 4 รหัส ว 43282 ช่วงชั้นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ระดับชั้น ม. 6
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค
1. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายกระบวนการที่สารผ่านเซลล์ และการรักษาดุลยภาพของเซลล์
2. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบาย เกี่ยวกับกลไกการรักษาดุลยภาพของน้ำ อุณหภูมิ กรด-เบสและแร่ ธาตุต่างๆ ของ สิ่งมีชีวิต
3. นำความรู้เรื่องการรักษาดุลยภาพไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและสิ่งมีชีวิตอื่น
4. สำรวจ สังเกตลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตต่างๆในท้องถิ่น ลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของสิ่งมีชีวิตหลากหลาย และจำแนกเป็นกลุ่มได้
5. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปรายและนำเสนอประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ และผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
6. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และนำเสนอคุณค่าของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ที่มีผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
7. สังเกตสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมและสร้างสถานการณ์จำลองแสดงถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต
8. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
9. สืบค้นข้อมูล และอธิบายโครงสร้างอะตอม ชนิดและจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมจาก สัญลักษณ์นิวเคลียร์ ของธาตุ วิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ
10. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดกับสมบัติของธาตุ และการเกิดปฏิกิริยา
11. อธิบายการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ และทำนายแนวโน้มของสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
12. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายและอธิบายการเกิดพันธะเคมีในโมเลกุลหรือในโครงผลึกของสาร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสาร ในเรื่องจุดเดือด จุดหลอมเหลว และสถานะกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร
13. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติ สารประกอบและเลขอะตอมของธาตุ
เขียนโดย karnpitcha Debsamut

ข้อตกลงในการเรียน

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553ข้อตกลงในการเรียนด้วย Social Media ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1. เข้าศึกษาเว็บกลาง ม.6 ที่ http://m6term2debsp.blogspot.com/
2. ปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละคาบเวลาที่กำหนดไว้
3. ดำเนินกิจกรรมตามใบงานที่กำหนด
4. ส่งงานตามใบงานกำหนดให้เสร็จสมบูรณ์ตามเวลาที่กำหนด
5. บันทึก/Capture หน้างาน ส่งทางเมล์ทุกครั้งที่ทำงานแล้วเสร็จ
ม.6 ส่งที่ karnpitcha_j@yahoo.co.th
6. ไฟล์ที่ส่งงาน ให้บันทึกวันที่ทำงานตามด้วย ห้องและเลขที่ของนักเรียน เช่น ปฏิบัติกิจกรรมวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ห้อง 6/3 เลขที่ 28 เป็นดังนี้ 1-11-2553-6328
7. ไม่รับงานที่ช้ากว่ากำหนด ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ลำดับการส่งงานมีผลต่อคะแนนเก็บด้วย
8. ผู้ที่ขาดการส่งงานเกิน 3 ครั้งจะขอพบผู้ปกครองเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
เขียนโดย karnpitcha Debsamut